📌 สรุป 📌
Q : มีคนโปรไฟล์ดี ติดต่อมาผ่านออนไลน์ ทำดีให้หลงรัก ลวงให้ลุ่มหลง นำสู่การหลอกลวงอีกขั้น ที่เรียกกันว่า Hybrid Scam
A : คือมันเริ่มจากความรัก มันเป็นความผสมผสานครับ ผสมผสานระหว่าง ความรักกับการลงทุน คนร้ายเป็นแก๊งคนจีนร่วมกับคนไทย
ก็เจอตลอด ในขณะเดียวกันก็มีการจับกุมอยู่ตลอดเช่นกัน ชื่อภาษาไทย มีคนเคยตั้่ง “หลอก-รัก-ลวง-ลงทุน”
Q : “ไฮบริดสแกม” กลายเป็นภัยไซเบอร์แบบใหม่ ที่ไปไกลกว่าคำว่า Ramance Scam ?
A : เดิมทีคือ “โรแมนซ์สแกม” หลอกรักออนไลน์ คนทำ คือ คนผิวสี ปลอมตัวเป็นฝรั่ง หรือชาวตะวันออกกลาง ทีนี้พอมีการพัฒนารูปแบบเป็น “ไฮบริดสแกม” กลายเป็นแก๊งคนจีน และโปรไฟล์ไม่ใช่ฝรั่งแล้ว แต่เป็นตี๋หมวย
Q : จุดเริ่มต้นมาจากการแรกพบบนโลกออนไลน์ ?
A : ใช่ แอดเข้ามาในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook แล้วก็มีแอปหาคู่ อะไรแบบนี้ เพิ่มเป็นเพื่อน แล้วพูดคุยกันเชิงความรักนั่นแหละ
คือคนเราเนี่ย รับแอด หรือ พูดคุยกันอย่างแรก อาจจะเป็นความพึงใจเรื่องรูปแบบหน้าตา หรือว่าเป็นแนวที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบพูดคุยกัน โดยหวังที่จะทำความรู้จัก โดยที่มิจฉาชีพเนี่ย จะอ้างว่าเขาถนัดในการลงทุน แล้วก็เคยได้เงิน ในเมื่อรักกันแล้ว ก็อยากให้คนที่เขารักได้เงินบ้าง ก็จะชวนให้ลงทุน
การลงทุนของไฮบริดสแกม ก็จะมีแอปพลิเคชัน ก็ส่งลิงก์ไป เหยื่อกดลิงก์แล้วก็สมัครแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นแอปพลิเคชัน ที่เขียนโปรแกรมขึ้นมา เพื่อที่จะหลอกลวงเทรดค่าเงินคริปโตเคอเรนซี
Q : ในช่วงต้นอาจได้เงินจริง ?
A : แล้วก็ได้เงิน...ได้เงินจริงด้วย ก็มีการถอนเอาเงินมาให้
Q : แต่ทั้งหมดเป็นเพียงการเล่นละครตบตา ?
A : จากนั้นเหยื่อก็จะเห็นว่า ได้เงินจริงนี่ ก็เพิ่มจำนวนเงินที่เล่นเข้าไปอีก ทีนี้ก็เล่นได้อีกเหมือนกัน แต่เล่นได้เป็นหลักล้าน
ปัญหาเกิดขึ้นก็คือ ได้เงินแล้ว จะเอาเงินออกจากบัญชีอย่างไร
ตัวแอปพลิเคชันก็บอกว่า ต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 30-40%
เช่นได้เงิน 1 ล้าน คุณจะเอาเงิน 1 ล้านออก คุณต้องโอนเงินเข้ามาก่อน 3-4 แสนบาท
พอเหยื่อเห็นว่า ได้ 1 ล้าน เสียภาษี 3-4 แสนบาท ไม่เป็นไร ยังเหลือกำไร 6 แสนกว่าบาท ก็โอนเงินไป ทีนี้ ก็ไม่จบ ก็ยังเอาเงินออกมาไม่ได้อีก เขาก็จะอ้างว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรจุกจิก ๆ นี่ก็คือไฮบริดสแกม
Q : แม้จะคล้าย Romance Scam แต่กลุ่มเหยื่อเป้าหมายแตกต่างกัน ?
A : คือเหยื่อโรแมนซ์สแกม จะเป็นหญิงอายุ 40 ปี ขึ้นไป
ส่วนของไฮบริดสแกม เป็นทั้งผู้หญิงผู้ชาย เป็นหนุ่มสาว ที่มีความรู้ อาจจะเคยลงทุนที่เกี่ยวกับโลกดิจิทัล แล้วก็มีบัญชีธนาคารในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะ e-banking mobile-banking ต่าง ๆ
Q : และคนร้ายก็ใช้ความล้ำหน้ามาลวงตา ?
A : หนึ่ง คือ สร้างแอป
สอง คือ เหยื่อเนี่ย ไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์
คนที่เป็นเหยื่อ กลับเป็นคนที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ รู้เรื่องการลงทุน
มีความสนใจการลงทุนการเงินในโลกดิจิทัล ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะเล่นหุ้น หรือ เทรดค่าเงินอะไรก็แล้วแต่ แล้วมาวันหนึ่งมาเล่นแอปพลิเคชันที่เขาหลอกลวงขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นจิตวิทยาในเรื่องความรักมาประกอบกันด้วย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
บางคนบอกว่า ความรักทำให้คนตาบอด นึกว่าเป็นเรื่องจริง
ซึ่งทุกอย่าง วางกลวิธีได้อย่างเหมาะเจาะ รัก / เล่นตอนแรกได้เงิน /
จนนำไปสู่การหลอกลวงในเงินก้อนใหญ่ในที่สุดครับ
Q : หนึ่งในวิธีที่จะพ้นภัย ไฮบริดสแกม
คือการตั้งข้อสงสัย ถามหาตัวตนที่แท้จริง ?
A : คือหลักการ ในเมื่อมันเริ่มจากความรัก การที่จะรักใครสักคนในโลกออนไลน์เนี่ย อยากให้เจอตัวจริง ๆ หรือเป็นวิดีโอคอลล์
ไม่ใช่เป็นเพียงแต่การแชต หรือว่าใช้โทรศัพท์ เพราะว่าไฮบริดสแกม มีการใช้โทรศัพท์ ใช้เสียง แต่หลักการคือไม่เห็นหน้าเหมือนกัน
เพราะถ้าเกิดเห็นหน้าเมื่อไหร่ก็คือจบ
มันจะไม่ตรงปก มันจะไม่ใช่
Q : และถ้ามีการชักชวนให้ลงทุน ต้องระวัง ?
A : หากมีการชักชวนลงทุนจากคนที่เราไม่รู้จัก แม้จะรักใคร่ หรือ พึงใจก็ดี ก็ไม่ควรไปลงทุน เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาชักชวนลงทุนนั้น มันจริงหรือไม่จริง
Q : ขณะที่ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ ?
A : สิ่งสำคัญต่อมาคือ ติดตามข่าวสารอาชญากรรม โดยเฉพาะอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับในโลกออนไลน์ เพราะคนร้ายมีการพัฒนารูปแบบ พัฒนาวิธีการ เพราะฉะนั้นเนี่ย เราต้องรู้เท่าทัน
👉 “ไฮบริดสแกม” หลอก-รัก-ลงทุน อีกภัยร้ายทางไซเบอร์
ที่ควรรู้เท่าทัน มีภูมิคุ้มกันก่อนเจอของจริง
CR: ชัวร์ก่อนแชร์
-------------------------------------------------------------
เอม กล่าวเพิ่มว่า หลังจากนั้น คุณแม่ก็มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป มาขอยืมเงินตนและน้องชายคนละ 1 ล้านบาท ซึ่งมันแปลกมากเพราะส่วนใหญ่เขาจะเป็นคนที่ให้การช่วยเหลือคนอื่นมากกว่า ตอนนั้นตนก็กังวลใจเหมือนกัน แต่ไม่รู้จะถามเขายังไง เพราะ ไม่อยากให้เป็นเรื่องราวทะเลาะกันในครอบครัว เลยโอนเงินให้เขาไปไม่ได้คิดอะไร ต่อมา คุณแม่ได้เข้ารับการผ่าตัดหัวเข่าซึ่งตัวมิจฉาชีพได้ส่งดอกไม้มาเยี่ยมคุณแม่ ตนเองก็เริ่มเอะใจ จนกระทั่งวันที่ 6 ต.ค. 2566 คุณแม่มายืมเงินน้องชาย 4 แสนบาท และบอกว่าต้องการใช้ด่วน อ้างว่า จะจ่ายเงินค่าเครดิตการ์ด แต่เมื่อสืบทราบจึงได้รู้ว่าคุณแม่ถูกมิจฉาชีพหลอกให้เอาเงินไปให้เขา อ้างว่า ขับรถชนรถยนต์หรูแล้วไม่มีประกัน เหตุการณ์นี้ทำให้ความแตก และเริ่มเตือนคุณแม่ว่าเขาเป็นมิจฉาชีพ
ขณะเดียวกัน ได้เตือนคุณแม่แล้วเขาไม่เชื่อเลยว่าถูกมิจฉาชีพหลอก จนคุณแม่ได้โทรหามิจฉาชีพเพื่อให้คุยกับตน เมื่อตนได้คุยจึงได้ขอหลักฐานยืนยันการลงทุน และถามไถ่ว่าเขาเป็นใคร มีตัวตนจริงหรือไม่ ได้คุยขอสำเนาบัตรประชาชนของเขาเพื่อยืนยัน แต่สุดท้ายแล้วเขาก็ไม่ส่งอะไรกลับมาเลย แต่คุณแม่ก็ยังไม่เชื่อ ได้ติดต่อหาญาติต่าง ๆ มาช่วยคุยเขาก็ยังไม่เชื่อ ซึ่งตรงนี้ก็ได้ทราบว่าเขาไปหยิบยืมเงินจากญาติพี่น้องด้วยหลายคน สุดท้ายต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาคุยกับคุณแม่ พร้อมกับเปิดเคสอื่น ๆ ที่โดนหลอกเช่นกันจนเขาเริ่มเชื่อในที่สุด และยอมให้เราอายัดบัญชี และไปแจ้งความ อย่างไรก็ดี ตนได้ติดต่อไปที่ร้านดอกไม้ที่มิจฉาชีพสั่งมาให้คุณแม่ เพื่อขอข้อมูลว่าเขาเป็นใคร แต่ทางร้านไม่ได้ให้ข้อมูลมา อ้างกฎหมาย PDPA
อ่านต่อ https://teroasia.com/news/250872
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น