วันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ถ้าโดนโกงออนไลน์จะทำอย่างไร

 

ถ้าโดนโกงออนไลน์จะทำอย่างไร 

นำเลขบัญชีของผู้ที่โกง ใบแจ้งความ หลักฐานการโอนเงินยื่นที่ธนาคารปลายทางของบัญชีผู้ที่โกง เพื่อขอคืนเงิน หรืออายัดบัญชี โดยสามารถติดต่อธนาคารเพื่อแจ้งอายัดบัญชีปลายทางได้ ตามพ.ร.ก.ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 ทันทีตลอด 24 ชั่วโมง


เริ่มตามขั้นตอนนี้

1. แคปหน้าจอทั้งหมดแล้วพรินท์ออกมา

เจอแบบนี้อันดับแรกต้องแคปหลักฐานเก็บไว้รัวๆ โดยหน้าที่ต้องแคปไว้ประกอบด้วย

• หน้าเว็บไซต์ที่ขายของ รูปโปรไฟล์ของร้านค้า

• ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เลขที่บัญชีของร้านค้า

• ข้อความในแชทที่เราพูดคุยกับพ่อค้าแม่ค้า ไม่ว่าจะเป็นการสอบถาม สั่งซื้อ ยืนยันการชำระเงิน ฯลฯ 

• หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชี เช่น สลิปโอนเงิน 

• สมุดบัญชีธนาคาร

• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเรา

พร้อมใส่คำบรรยายกำกับว่าแต่ละภาพที่แคปออกมานั้นคืออะไร

2. แจ้งตำรวจเพื่อดำเนินคดีและออกคำสั่ง “อายัดบัญชี”

นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ (สน.ที่ได้โอนเงิน) ให้เร็วที่สุดหรือภายใน 3 เดือนตั้งแต่วันที่รู้ว่าถูกโกง หรือจะเข้าแจ้งความที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ที่ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถนนแจ้งวัฒนะก็ได้ ซึ่งจะมีความสามารถทางด้านเทคโนโลยีในการติดตามหาตัวคนร้ายได้รวดเร็ว (แต่ก็ต้องเดินทางมาขึ้นศาลที่กรุงเทพเช่นกัน)

ต้องระบุว่าต้องการแจ้งความเพื่อดำเนินคดีจนถึงที่สุด ไม่ใช่แค่ลงบันทึกประจำวัน แต่ต้องขอให้ตำรวจออกคำสั่งอายัดบัญชีให้เราด้วยนะ


ช่องทางการติดต่อเพื่อปรึกษาการโดนโกง

https://www.facebook.com/csdthai/


https://www.ccib.go.th/?fbclid=IwAR0Gy34fxefsczjpT387-h7ueXVexkSRitZbxTzrWK_9qk49tLhvZmksqQ8


วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวน อาชญากรรมทางเทคโนโลยี

 อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารพระชนมพรรษา 60 พรรษา 

ชั้น 6 เมืองทองธานี ถนนป๊อปปูล่า ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี




https://www.ccib.go.th/

ติดต่อหน่วยงาน 

02 504 4850 

จันทร์ - ศุกร์ : 08:30 - 16:30

ปรึกษาคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 

สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง 

แจ้งความออนไลน์ได้ที่ www.thaipoliceonline.go.th


หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

Hybrid Scam : หลอก-รัก-ลงทุน

 

📌 สรุป 📌

Q : มีคนโปรไฟล์ดี ติดต่อมาผ่านออนไลน์ ทำดีให้หลงรัก ลวงให้ลุ่มหลง นำสู่การหลอกลวงอีกขั้น ที่เรียกกันว่า Hybrid Scam

A : คือมันเริ่มจากความรัก มันเป็นความผสมผสานครับ ผสมผสานระหว่าง ความรักกับการลงทุน คนร้ายเป็นแก๊งคนจีนร่วมกับคนไทย

ก็เจอตลอด ในขณะเดียวกันก็มีการจับกุมอยู่ตลอดเช่นกัน ชื่อภาษาไทย มีคนเคยตั้่ง “หลอก-รัก-ลวง-ลงทุน”


Q : “ไฮบริดสแกม” กลายเป็นภัยไซเบอร์แบบใหม่ ที่ไปไกลกว่าคำว่า Ramance Scam ?

A : เดิมทีคือ “โรแมนซ์สแกม” หลอกรักออนไลน์ คนทำ คือ คนผิวสี ปลอมตัวเป็นฝรั่ง หรือชาวตะวันออกกลาง ทีนี้พอมีการพัฒนารูปแบบเป็น “ไฮบริดสแกม” กลายเป็นแก๊งคนจีน และโปรไฟล์ไม่ใช่ฝรั่งแล้ว แต่เป็นตี๋หมวย


Q : จุดเริ่มต้นมาจากการแรกพบบนโลกออนไลน์ ?

A : ใช่ แอดเข้ามาในสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook แล้วก็มีแอปหาคู่ อะไรแบบนี้ เพิ่มเป็นเพื่อน แล้วพูดคุยกันเชิงความรักนั่นแหละ

คือคนเราเนี่ย รับแอด หรือ พูดคุยกันอย่างแรก อาจจะเป็นความพึงใจเรื่องรูปแบบหน้าตา หรือว่าเป็นแนวที่อีกฝ่ายหนึ่งชอบพูดคุยกัน โดยหวังที่จะทำความรู้จัก โดยที่มิจฉาชีพเนี่ย จะอ้างว่าเขาถนัดในการลงทุน แล้วก็เคยได้เงิน ในเมื่อรักกันแล้ว ก็อยากให้คนที่เขารักได้เงินบ้าง ก็จะชวนให้ลงทุน

การลงทุนของไฮบริดสแกม ก็จะมีแอปพลิเคชัน ก็ส่งลิงก์ไป เหยื่อกดลิงก์แล้วก็สมัครแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นแอปพลิเคชัน ที่เขียนโปรแกรมขึ้นมา เพื่อที่จะหลอกลวงเทรดค่าเงินคริปโตเคอเรนซี

Q : ในช่วงต้นอาจได้เงินจริง ?

A : แล้วก็ได้เงิน...ได้เงินจริงด้วย ก็มีการถอนเอาเงินมาให้

Q : แต่ทั้งหมดเป็นเพียงการเล่นละครตบตา ?

A : จากนั้นเหยื่อก็จะเห็นว่า ได้เงินจริงนี่ ก็เพิ่มจำนวนเงินที่เล่นเข้าไปอีก ทีนี้ก็เล่นได้อีกเหมือนกัน แต่เล่นได้เป็นหลักล้าน

ปัญหาเกิดขึ้นก็คือ ได้เงินแล้ว จะเอาเงินออกจากบัญชีอย่างไร

ตัวแอปพลิเคชันก็บอกว่า ต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 30-40%

เช่นได้เงิน 1 ล้าน คุณจะเอาเงิน 1 ล้านออก คุณต้องโอนเงินเข้ามาก่อน 3-4 แสนบาท 

พอเหยื่อเห็นว่า ได้ 1 ล้าน เสียภาษี 3-4 แสนบาท ไม่เป็นไร ยังเหลือกำไร 6 แสนกว่าบาท ก็โอนเงินไป ทีนี้ ก็ไม่จบ ก็ยังเอาเงินออกมาไม่ได้อีก เขาก็จะอ้างว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรจุกจิก ๆ นี่ก็คือไฮบริดสแกม

Q : แม้จะคล้าย Romance Scam แต่กลุ่มเหยื่อเป้าหมายแตกต่างกัน ?

A : คือเหยื่อโรแมนซ์สแกม จะเป็นหญิงอายุ 40 ปี ขึ้นไป 
ส่วนของไฮบริดสแกม เป็นทั้งผู้หญิงผู้ชาย เป็นหนุ่มสาว ที่มีความรู้ อาจจะเคยลงทุนที่เกี่ยวกับโลกดิจิทัล แล้วก็มีบัญชีธนาคารในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะ e-banking mobile-banking ต่าง ๆ

Q : และคนร้ายก็ใช้ความล้ำหน้ามาลวงตา ?

A : หนึ่ง คือ สร้างแอป

     สอง คือ เหยื่อเนี่ย ไม่ใช่คนที่ไม่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ 
คนที่เป็นเหยื่อ กลับเป็นคนที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ รู้เรื่องการลงทุน

มีความสนใจการลงทุนการเงินในโลกดิจิทัล ซึ่งก่อนหน้านี้อาจจะเล่นหุ้น หรือ เทรดค่าเงินอะไรก็แล้วแต่ แล้วมาวันหนึ่งมาเล่นแอปพลิเคชันที่เขาหลอกลวงขึ้นมา ซึ่งอาจจะเป็นจิตวิทยาในเรื่องความรักมาประกอบกันด้วย ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ

บางคนบอกว่า ความรักทำให้คนตาบอด นึกว่าเป็นเรื่องจริง

ซึ่งทุกอย่าง วางกลวิธีได้อย่างเหมาะเจาะ รัก / เล่นตอนแรกได้เงิน /

จนนำไปสู่การหลอกลวงในเงินก้อนใหญ่ในที่สุดครับ


Q : หนึ่งในวิธีที่จะพ้นภัย ไฮบริดสแกม

คือการตั้งข้อสงสัย ถามหาตัวตนที่แท้จริง ?

A : คือหลักการ ในเมื่อมันเริ่มจากความรัก การที่จะรักใครสักคนในโลกออนไลน์เนี่ย อยากให้เจอตัวจริง ๆ หรือเป็นวิดีโอคอลล์

ไม่ใช่เป็นเพียงแต่การแชต หรือว่าใช้โทรศัพท์ เพราะว่าไฮบริดสแกม มีการใช้โทรศัพท์ ใช้เสียง แต่หลักการคือไม่เห็นหน้าเหมือนกัน

เพราะถ้าเกิดเห็นหน้าเมื่อไหร่ก็คือจบ

มันจะไม่ตรงปก มันจะไม่ใช่

Q : และถ้ามีการชักชวนให้ลงทุน ต้องระวัง ?

A : หากมีการชักชวนลงทุนจากคนที่เราไม่รู้จัก แม้จะรักใคร่ หรือ พึงใจก็ดี ก็ไม่ควรไปลงทุน เพราะเราไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาชักชวนลงทุนนั้น มันจริงหรือไม่จริง

Q : ขณะที่ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ ?

A : สิ่งสำคัญต่อมาคือ ติดตามข่าวสารอาชญากรรม โดยเฉพาะอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับในโลกออนไลน์ เพราะคนร้ายมีการพัฒนารูปแบบ พัฒนาวิธีการ เพราะฉะนั้นเนี่ย เราต้องรู้เท่าทัน


👉 “ไฮบริดสแกม” หลอก-รัก-ลงทุน อีกภัยร้ายทางไซเบอร์

ที่ควรรู้เท่าทัน มีภูมิคุ้มกันก่อนเจอของจริง

 CR: ชัวร์ก่อนแชร์ 

-------------------------------------------------------------





วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

👽😎🤓All types of Scams / การหลอกลวงทุกประเภท

 

พล.ต.ต. ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เตือนภัย6โจรความรักออนไลน์ ผ่านรายการอินไซด์รัฐสภา ออกอากาศในเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา



 กลลวงใหม่“คุย 2 นาที” ตอบแค่ “ใช่”
ดูดเงินเกลี้ยงบัญชี ! อย่าตื่นตระหนก

หนุ่


พล.ต.ต. ศิริวัฒน์ ดีพอ

"มันเป็นการต่อสู้ทางเทคโนโลยีระหว่าง

มิจฉาชีพกับประชาชน(ผู้เสียหาย)"

สรุปเห็นภาพ และเข้าใจง่าย

---------------------------------------------

All types of Scams

The ten most common types of scams

การหลอกลวงทุกประเภท
การหลอกลวงสิบประเภทที่พบบ่อยที่สุด

Find out about the 10 most common types of scams 

ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกลโกง 10 ประเภทที่พบบ่อยที่สุด
-----------------------------------------------------------

1. Advance fee fraud

A scammer requests fees upfront or personal information in return for goods, services, money, or rewards that they never supply.

Scammers invent convincing and seemingly genuine reasons for requesting payment, such as to cover fees or taxes. 

They often ask for payment by international wire transfer.

These scams are commonly mass-marketed with scammers sending them out to thousands of people all over the world at the same time, usually by mail or email.

1. การฉ้อโกงค่าธรรมเนียมล่วงหน้า

นักต้มตุ๋นขอค่าธรรมเนียมล่วงหน้าหรือข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อแลกกับสินค้า บริการ เงิน หรือรางวัลที่พวกเขาไม่เคยให้

นักต้มตุ๋นสร้างเหตุผลที่น่าเชื่อถือและดูเหมือนเป็นจริงในการขอชำระเงิน เช่น เพื่อครอบคลุมค่าธรรมเนียมหรือภาษี

พวกเขามักจะขอชำระเงินด้วยการโอนเงินระหว่างประเทศ

การหลอกลวงเหล่านี้มักมีการวางตลาดในวงกว้างโดยนักหลอกลวงจะส่งมันออกไปสู่ผู้คนหลายพันคนทั่วโลกพร้อม ๆ กัน โดยปกติจะทางไปรษณีย์หรืออีเมล

----------------------------------------------------------

2. Lottery, sweepstakes and competition scams

An email, letter, or text message from an overseas lottery or sweepstakes company arrives from out of nowhere.

It says you have won a lot of money or fantastic prizes in a lottery or sweepstakes competition you did not enter.

These scams try to trick you into giving money upfront or your personal details to receive the prize.

Scammers typically claim that you need to pay fees or taxes before your winnings or prize can be released. 

You may also have to call or text a premium rate phone number to claim your prize. 

Remember you cannot win a prize if you haven’t entered.

2. ลอตเตอรี่ การชิงโชค และการหลอกลวงการแข่งขัน

อีเมล จดหมาย หรือข้อความจากบริษัทลอตเตอรีหรือการชิงโชคในต่างประเทศมาจากที่ไหนก็ไม่รู้

ข้อความระบุว่าคุณได้รับเงินจำนวนมากหรือรางวัลสุดพิเศษจากการแข่งขันลอตเตอรีหรือการชิงโชคที่คุณไม่ได้เข้าร่วม

การหลอกลวงเหล่านี้พยายามหลอกให้คุณให้เงินล่วงหน้าหรือให้รายละเอียดส่วนตัวของคุณเพื่อรับรางวัล

โดยทั่วไปแล้วนักหลอกลวงอ้างว่าคุณต้องชำระค่าธรรมเนียมหรือภาษีก่อนจึงจะสามารถเผยแพร่เงินรางวัลหรือรางวัลของคุณได้

คุณอาจต้องโทรหรือส่งข้อความหมายเลขโทรศัพท์อัตราพิเศษเพื่อรับรางวัล

จำไว้ว่าคุณไม่สามารถชนะรางวัลได้หากคุณยังไม่ได้เข้าร่วม

--------------------------------------------------------

3. Dating and romance scams

Scammers create fake profiles on legitimate dating websites. 

They use these profiles to try to enter into a relationship with you so they can get a hold of your money and personal details.

The scammer will develop a strong rapport with you and then ask for money to help cover costs associated with illness, injury, travel, or a family crisis.

Scammers seek to exploit your emotions by pulling on your heartstrings. Sometimes the scammers will take months and months to build up the rapport.
3. การหลอกลวงเรื่องการออกเดทและเรื่องโรแมนติก

นักต้มตุ๋นสร้างโปรไฟล์ปลอมบนเว็บไซต์หาคู่ที่ถูกกฎหมาย

พวกเขาใช้โปรไฟล์เหล่านี้เพื่อพยายามสร้างความสัมพันธ์กับคุณ เพื่อที่พวกเขาจะได้เงินและรายละเอียดส่วนตัวของคุณ

นักต้มตุ๋นจะสร้างสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับคุณ จากนั้นจะขอเงินเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเจ็บป่วย การบาดเจ็บ การเดินทาง หรือวิกฤติครอบครัว

นักต้มตุ๋นพยายามใช้ประโยชน์จากอารมณ์ของคุณโดยดึงหัวใจของคุณออกมา บางครั้งผู้หลอกลวงอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นเดือนเพื่อสร้างสายสัมพันธ์

---------------------------------------------------------

4. Computer hacking

Phishing emails are commonly used by scammers to trick you into giving them access to your computer. 

They ‘fish’ for your personal details by encouraging you to click on a link or attachment. 

If you click, malicious software will be installed and the hacker will have access to files and information stored on your computer.

A phishing email often appears to come from an organization that you know and trust, like a bank or financial institution, asking you to enter your account password on a fake copy of the site’s login page. 

If you provide your account details, the scammer can hack into your account and take control of your profile.
4. การแฮ็กคอมพิวเตอร์

นักต้มตุ๋นมักใช้อีเมลฟิชชิ่งเพื่อหลอกให้คุณอนุญาตให้พวกเขาเข้าถึงคอมพิวเตอร์ของคุณได้

พวกเขา 'ค้นหา' รายละเอียดส่วนบุคคลของคุณโดยสนับสนุนให้คุณคลิกลิงก์หรือไฟล์แนบ

หากคุณคลิก ซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายจะถูกติดตั้ง และแฮกเกอร์จะสามารถเข้าถึงไฟล์และข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของคุณได้

อีเมลฟิชชิ่งมักจะดูเหมือนว่ามาจากองค์กรที่คุณรู้จักและไว้วางใจ เช่น ธนาคารหรือสถาบันการเงิน ขอให้คุณป้อนรหัสผ่านบัญชีของคุณบนสำเนาปลอมของหน้าเข้าสู่ระบบของเว็บไซต์

หากคุณให้รายละเอียดบัญชีของคุณ นักหลอกลวงสามารถแฮ็กเข้าสู่บัญชีของคุณและควบคุมโปรไฟล์ของคุณได้


----------------------------------------------------------

5. Online shopping, classified and auction scams

Scammers like shopping online for victims. Not getting what you paid for is a common scam targeting online shoppers. 

A scammer will sell a product and send a faulty or inferior quality item, or nothing at all. They may also pretend to sell a product just to gather your credit card or bank account details. 

These scams can also be found on reputable online classified pages. 

An online auction scam involves a scammer claiming that you have a second chance to buy an item that you placed a bid on because the winner has pulled out. 

The scammer will ask you to pay outside of the auction site’s secure payment facility.

If you do, your money will be lost and the auction site will not be able to help you.

5. การหลอกลวงการซื้อของออนไลน์ การจำแนกประเภท และการประมูล

นักต้มตุ๋นชอบซื้อของออนไลน์เพื่อเหยื่อ การไม่ได้รับสิ่งที่คุณจ่ายไปถือเป็นการหลอกลวงทั่วไปที่มุ่งเป้าไปที่ผู้ซื้อออนไลน์

นักต้มตุ๋นจะขายสินค้าและส่งสินค้าที่มีข้อบกพร่องหรือด้อยคุณภาพ หรือไม่ส่งอะไรเลย พวกเขาอาจแกล้งทำเป็นขายผลิตภัณฑ์เพียงเพื่อรวบรวมรายละเอียดบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคารของคุณ

การหลอกลวงเหล่านี้สามารถพบได้ในหน้าจำแนกออนไลน์ที่มีชื่อเสียง

การหลอกลวงการประมูลออนไลน์เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงโดยอ้างว่าคุณมีโอกาสครั้งที่สองในการซื้อสินค้าที่คุณเสนอราคาเนื่องจากผู้ชนะได้ดึงออกไป

นักต้มตุ๋นจะขอให้คุณชำระเงินนอกระบบการชำระเงินที่ปลอดภัยของสถานที่ประมูล

หากคุณทำเช่นนั้น เงินของคุณจะหายไปและสถานที่ประมูลจะไม่สามารถช่วยเหลือคุณได้

วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

คุย 2 นาที” ตอบแค่ “ใช่” ดูดเงินเกลี้ยงบัญชี !



อดีต “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” แบไต๋ กลลวงใหม่“คุย 2 นาที” ตอบแค่ “ใช่” ดูดเงินเกลี้ยงบัญชี !

 


            วันที่ 12 ก.พ. 2567 นายเอ (นามสมมติ) ผู้เสียหาย ออกมาเล่าเรื่องราวผ่านรายการ "ถกไม่เถียง" ทางช่อง 7HD กด 35 ดำเนินรายการโดย ทิน โชคกมลกิจ เล่าว่า ตนได้ไปทำงานนี้จากการที่ได้คุยกับผู้หญิงคนหนึ่งผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเขาเป็นคนชักชวนตนไปอ้างว่าไปทำงานเว็บพนันออนไลน์ คอยตอบลูกค้า ตนก็ตัดสินใจไป ซึ่งสถานที่ทำงานดังกล่าวนี้ เป็นคาสิโนแห่งหนึ่งอยู่ใน ปอยเปต ประเทศกัมพูชา และงานไม่ใช่งานเว็บพนัน แต่เป็นงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยที่ลักษณะข้างในคือจะเป็นตู้เก็บเสียงประมาณ 32 ตู้ สำหรับให้พนักงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์เข้าไปทำงาน ซึ่งตนไม่สามารถทำอะไรได้ จึงต้องตัดสินใจทำงาน

             โดยเขาให้ตนฝึกงานก่อน สำหรับวิธีการทำงานไม่ได้ซับซ้อนอะไร แค่โทรศัพท์ไปหาเหยื่อ เพื่อให้ยืนยัน ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน  วันเดือนปีเกิด ภูมิลำเนา บ้านเลขที่ และ เลขบัญชีธนาคาร โดยที่ตัวเองนั้นจะแนะนำว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐบาล  หรือเจ้าหน้าที่ธนาคาร จากนั้นจะพยายามชวนคุยไปเรื่อย ๆ ให้ครบ 2 นาที เมื่อคนไทยพูดยืนยันเสร็จสิ้นจะส่งเสียงไปให้เจ้าหน้าที่คนจีน ที่ใช้เครื่องดูดเงิน ทำการแฮ็กเงินในบัญชีธนาคารของเหยื่อจนเกลี้ยงบัญชี ไม่ต้องกดลิงก์ ไม่ต้องโหลดแอปใด ๆ โดยเจ้าตัวเครื่องดูดเงินนั้น ตนเห็นอยู่ประมาณ 4 เครื่อง โดยมีมูลค่าเครื่องละ 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีเจ้าหน้าที่คนจีนเป็นคนคุม ส่วนยอดการทำงานนั้น มีเป้าต้องทำให้ได้วันละ 150 ล้านบาท ซึ่งก็ทำได้ทุกวัน

            นอกจากนี้ ทางกลุ่มนี้ เขาจะตัดแค่เสียงของเหยื่อไปใช้ เพื่อการยืนยันตัวตนกับทางธนาคาร และทำการแฮ็กต่อไป ส่วนธนาคารไหนที่ใช้เป็นการแสกนใบหน้า หรือลายนิ้วมือ กลุ่มมิจฉาชีพนี้ก็มีข้อมูลใบหน้าอยู่แล้ว และถ้าเกิดต้องการทำหน้าให้ยิ้ม หรือรูปบแบบต่าง ๆ อาทิ การยิ้ม กระพริบตา ก็แค่เอาเข้าโปรแกรมให้ AI เป็นคนทำ ส่วนเบอร์โทรสำหรับใช้โทรหาเหยื่อนั้น จะเป็นเบอร์ขึ้นต้นด้วย 02 ที่เป็นเบอร์ธนาคาร และจะมีการรันเปลี่ยนอยู่ตลอด 

             ขณะเดียวกัน การเบิกเงินของพวกเขาจะเน้นเบิกออกมาเป็นเงินสด แต่ตนไม่ทราบว่าเขาเบิกออมาจากธนาคารอย่างไร และเงินที่เขาให้จะสามารถใช้ได้แค่ในตึก ไม่มีสิทธิ์ได้ออกไปข้างนอก หรือไปเที่ยวแต่อย่างใด ของใช้ต่าง ๆ ก็ให้แอปพลิเคชันมาส่ง ตนเคยพยายามหนี โดยการเอาผ้าปูที่นอนผูกรวมกัน และโยนออกมาให้เกี่ยวกับรั้วลวดหนาม และทำการปีนหนีออกมา ทว่า กำแพงของสถานที่นั้นเขาทาน้ำมันไว้ เลยลื่นตกลงมา จึงถูกจับได้และใช้ไม้เบสบอล เหล็กตัน ทุบตีเรา เพื่อบังคับให้เราทำงาน ถ้าเราไม่ทำเขาจะมีทางเลือกให้เรา 2 ทาง คือขายเราต่อให้องค์กรอื่น หรือฆ่าเราทิ้ง พร้อมทั้งขู่ว่าถ้าอยากแจ้งความให้แจ้งเลย เพราะเขาจ่ายส่วยให้ตำรวจไทยอยู่ 60-90 ล้านบาท ตนพยายามหนีอยู่ 4 ครั้ง เพิ่งจะมารอดในครั้งสุดท้าย 

            โดยใช้วิธีหลบหนีออกมาโดยการใช้ผ้านวมพาดไปยังรั้วลวดหนามที่มีไฟฟ้าอยู่ และขึ้นไปยังชั้น 5 เพื่อกระโดดข้ามรั้วที่มีความสูงประมาณ 3-4 เมตร จากนั้นตนได้เรียกรถ 3 ล้อ ไปส่งที่หน้าด่านอรัญประเทศ แต่ตนไม่ได้ข้ามด่านแบบปกติเพราะกลัวตำรวจหน้าด่านจะเป็นพวกเขา เลยให้ 3 ล้อช่วยหาคนข้ามประเทศผ่านช่องทางธรรมชาติ โดย 3 ล้อบอกว่าราคา 3,000 บาท และโอกาสรอดแค่ 50/50 แต่ตนก็ตัดสินใจเลือกทางนี้ และโทรหาเพื่อนที่ประเทศไทยยืมเงิน 3,000 บาท จนรอดมาได้ ทั้งนี้เพื่อน ๆ ที่ทำงานกับแก๊งคอลเซ็นเตอร์เคยคุยกันว่าถ้าใครรอดมาได้ อยากให้หาทางมาช่วยพวกเขากลับบ้านด้วย 

 ถกไม่เถียง : อดีต “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” แบไต๋ กลลวง

            ฟาก เอกภพ เหลืองประเสริฐ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด เผยว่า ตนอยากฝากประชาชนช่วยแชร์ เนื่องจากมิจฉาชีพกลุ่มนี้จะเน้นหลอกไปที่เจ้าหน้าที่รัฐ โดยพวกเขาได้ข้อมูลของเจ้าหน้าที่รัฐหมดแล้ว ทั้ง เลขบัตรประจำตัวประชาชน และการทำธุรกกรรมต่าง ๆ ที่ผูกมัดไว้ รวมถึงเลขบัญชีด้วย หลัก ๆ จะเป็นของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่มีเงินอยู่ในบัญชีเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งพวกเขาได้มาโดยการซื้อข้อมูลจากธนาคารแห่งหนึ่ง และพวกค่ายซิม ต่าง ๆ อีกทั้งประกันภัยด้วย 

             ทั้งนี้ การที่มิจฉาชีพเน้นเล่นงานไปที่ข้าราชการ เพราะว่า พวกข้าราชการระดับสูง จะต้องเปิดเผยทรัพย์สิน ทว่าการดูดเงินมาจากข้าราชการผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะหลายสิบล้าน ก็ไม่กล้ามีใครออกมาแแจ้งความ เพราะเขากลัวถูกตรวจสอบที่มาของทรัพย์สิน 

            ขณะที่ พล.ต.ต. ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า สำหรับเคสนี้ ในมุมของตำรวจไซเบอร์ คิดว่ามันจะต้องมีขั้นตอนก่อนมาถึงการพูดคุยโทรศัพท์ อาทิ การหลอกให้กดลิงก์ หรือติดตั้งแอปสำหรับควบคุมระยะไกล ส่วนการที่ใช้เสียงในการยืนยันตัวตนด้วยเสียงนี้ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการดำเนินการผ่านธนาคาร ซึ่งไม่ใช่ทุกธนาคารที่ใช้การยืนยันตัวตนด้วยเสียง อย่างไรก็ตาม ประชาชนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกกับเรื่องนี้ ตนได้ตรวจสอบจาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว ยังไม่มีใครมาแจ้งความเกี่ยวกับคดีลักษณะนี้ ส่วนเรื่องการค้ามนุษย์ตนจะจัดการประสานงานช่วยคนที่เหลือที่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้านให้ 

ติดตาม  รายการ "ถกไม่เถียง"  ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ”  ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35

3 วิธี เก็บหลักฐานให้แน่น โจรออนไลน์ดิ้นไม่หลุด

 


ในปัจจุบันจากสถิติการรับแจ้งความออนไลน์คดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า รูปแบบคดีที่มีจำนวนการแจ้งความมากที่สุดอันดับ 1 ยังคงเป็น “การหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์”


ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่ของการสืบสวนสอบสวนคดีอาชญกรรมทางเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น เกิดจากการที่ผู้เสียหายไม่สามารถเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้นในการแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้เอง ทำให้คนร้ายมีเวลาในการลบข้อมูลต่าง ๆ เช่น โพสต์ที่ใช้หลอกลวง ข้อความการสนทนา และบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่คนร้ายใช้ในการกระทำความผิด ก่อนที่ผู้เสียหายจะมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ทำให้พนักงานสอบสวนไม่สามารถรวบรวมพยานหลักฐานที่จำเป็นต้องใช้ในการประสานขอข้อมูลจากผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ได้


จึงขอแนะนำ 3 ขั้นตอนเบื้องต้น ในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน ก่อนที่จะไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน คือ “แคปจอ เซฟลิงก์ ดูโปรไฟล์” โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


แคปจอหรือการบันทึกภาพหน้าจอ เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงทางออนไลน์ เพราะจะสามารถแสดงให้เห็นถึงชื่อบัญชี วันเวลาที่โพสต์ ตลอดจนข้อความและภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดได้


– เซฟลิงก์หรือการบันทึกลิงก์ URL ที่สามารถนำไปสู่โพสต์ที่เป็นความผิด เพื่อให้พนักงานสอบสวนสามารถนำลิงก์ดังกล่าวไปตรวจสอบข้อมูลกับผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ และใช้เป็นหลักฐานประกอบสำนวนการสอบสวนเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด


– ดูโปรไฟล์หรือการเข้าไปตรวจสอบหน้าบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของคนร้าย รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น และหาลิงก์ของบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญที่พนักงานสอบสวนต้องใช้ในการขอข้อมูลจากผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ เพราะลิงก์ของบัญชีสื่อสังคมออนไลน์แต่ละบัญชีเปรียบเสมือนรหัสประจำตัวประชาชนที่จะไม่ซ้ำกับบัญชีอื่น แม้จะมีชื่อโปรไฟล์เดียวกัน จึงสามารถนำมาใช้ระบุบัญชีที่ใช้ในการกระทำความผิดได้


หากท่านใดได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ที่
ศูนย์รับแจ้งความออนไลน์บนเว็บไซต์
  www.thaipoliceonline.go.th
หรือสายด่วน 1441 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


วันจันทร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ขบวนการหลอกระดมทุน นอร์ทเทิร์น ลอว์เยอร์ (Northern Lawyer)

 

ตร.ไซเบอร์รวบขบวนการลวงให้ลงทุน เตือนอย่าโลภเงินตอบแทนสูง 180%


เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 65 พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี แถลงผลปฎิบัติ “ตำรวจไซเบอร์เปิดยุทธการตัดวงจรความเสียหายขบวนการหลอกระดมทุน นอร์ทเทิร์น ลอว์เยอร์ (Northern Lawyer) โดยการชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนออนไลน์

สืบเนื่องจากตำรวจไซเบอร์สืบสวนทราบว่า บริษัท นอร์ทเทิร์น ลอว์เยอร์ จำกัด มีพฤติการณ์การโฆษณาชักชวนให้ประชาชนทั่วไปทางสื่อสังคมออนไลน์ให้มาสมัครไปสมาชิกในลักษณะการระดมทุน ซึ่งอ้างว่าจะนำเงินของสมาชิก ไปลงทุนต่าง ๆ เช่น ซื้อขายทรัพย์สินดิจิทัล หรือ คริปโตเคอร์เร้นซี่ (Cryptocurrency), ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ หรือ ฟอร์เร็กซ์ (Forex), ซื้อขายทองคำ, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์, ซื้อขายรถยนต์มือสอง และค้าอัญมณี โดยจะให้ผลตอบแทนแก่สมาชิกในอัตราสูงสุดถึงร้อยละ 180 ต่อปี พบว่าเปิดดำเนินการมาได้ 11 เดือนแล้ว อีกทั้งยังมีจัดสัมนาชักชวนหาสมาชิกทุก ๆ สัปดาห์

สำหรับการลงทุนจะแบ่งเป็นแพ็กเกจ คือ เริ่มต้นลงทุนที่ 4,000 บาท ครบ 10 เดือน รับผลตอบแทน 6,000 บาท ไล่เรียงไปตามจำนวนเงินลงทุน ไปจนถึงแพ็กเกจสุดท้าย ลงทุนสูงสุดที่ 400,000 บาท ครบ 10 เดือน ได้รับผลตอบแทนถึง 600,000 บาท จึงมีสมาชิกสนใจเข้าร่วมลงทุนในแพ็กเกจต่าง ๆ กว่า 90,000 คน มีเงินหมุนเวียนกว่า 1,400 ล้านบาท แต่ไม่ได้นำเงินของสมาชิกไปลงทุนหรือทำธุรกิจตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เป็นการหลอกลวงลงทุนในลักษณะของแชร์ลูกโซ่ ซึ่งเป็นความผิดตามกฎหมาย จึงรวบรวมพยานหลักฐานจนศาลจังหวัดเชียงใหม่อนุมัติหมายจับ

ในวันที่ 28 มิ.ย. 65 ที่ผ่านมา ตำรวจไซเบอร์ ได้เปิดปฏิบัติการเพื่อตัดวงจรความเสียหายของเครือข่ายนี้ โดยเข้าตรวจค้นเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ รวม 5 แห่ง ประกอบด้วยอำเภอเมืองเชียงใหม่ 2 แห่ง และอำเภอสันทราย 3 แห่ง จับกุมผู้ต้องหาได้ 2 คน คือ น.ส.ดารารัตน์ อายุ 46 ปี กรรมการผู้จัดการบริษัท และน.ส.เกวรินทร์ อายุ 56 ปี ทำหน้าที่เป็นวิทยากรชักชวนสมาชิกมาร่วมลงทุน ทั้งหมดถูกดำเนินคดีข้อหา ร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน และผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ร่วมกันนำข้อมูลอันเป็นเท็จสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อีกทั้งจะดำเนินการตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน ด้วย